WELCOME TO KANPAPOB'S Biology Blog !!!

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ
            ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ประกอบด้วย อวัยวะสำคัญ ได้แก่ จมูก หลอดลม และปอด
             3.1 จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่นละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป
             3.2 หลอดลม เป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกับขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศเพื่อนำไปสู่ปอด
             3.3 ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ ปอดมี 2 ข้าง อยู่ในทรวงอกด้านซ้ายและขวา ปอดแต่ละข้างประกอบด้วยขั้วปอด ซึ่งจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า แขนงขั้วปอด ที่ปลายของแขนงขั้วปอดจะพองออกเป็นถุงลมเล็กๆ มากมาย สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เรียกว่า ถุงลมปอด
             นอกจากอวัยวะที่กล่าวมาแล้ว การทำงานของระบบหายใจยังต้องอาศัยกล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลมทำ งานร่วมกัน ทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออก เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงจะบีบตัวและขยายออก กล้ามเนื้อที่กะบังลมจะหดตัวเหยียดตรง ทำให้ช่องอกมีที่ว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันอากาศก็จะผ่านเข้าสู่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่หลอดลมลงไปที่ปอดแต่ละข้าง แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะซึมออกจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด ขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ถุงลม ปอดทำให้อากาศในถุงลมมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ซี่โครง กะบังลมและกล้ามเนื้อช่องท้อง คลายตัวกลับสู่สภาพเดิม ทำให้บริเวณช่องอกแคบลง แล้วออกจากร่างกายทางช่องจมูก เป็นลมหายใจออก

ระบบขับถ่าย

การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย  และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย  ไต  ตับ  และลำไส้  เป็นต้น
            ไต  มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย  อยู่ด้านหลังของช่องท้อง
            ลำไส้ใหญ่  มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
โครงสร้างของระบบขับถ่าย
            ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของ เสียออกจากร่างกาย  ไตของคนมี  1  คู่  อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่ กระเพาะปัสสาวะ  ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
             เคี้ยวอาหารให้ละเอียด  และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย  คือ  อาหารที่มีกากใย  เช่น  ผัก  ผลไม้  และควรดื่มน้ำให้มาก
การกำจัดของเสียออกทางไต
            ไต  เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว  มีขนาดประมาณ  10  กว้าง  6  เซนติเมตร  และหนาประมาณ  3  เซนติเมตร  มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ  ไตมี  2  ข้างซ้ายและขวา  บริเวณด้านหลังของช่องท้อง  ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว  บริเวณส่วนที่เว้า  เป็นกรวยไต  มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ
             โครงสร้างไต  ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ  2  ชั้น  หน่วยไต  ชั้นนอก  เรียกว่า  คอร์ดเทกซ์  ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา  ภายในไตประกอบด้วย  หน่วยไต  มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก  วันหนึ่งๆ  เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต  ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่  1200  มิลลิลิตร  หรือวันละ  180  ลิตร  ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ  แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ  500  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ  250  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ใน  1  วัน  คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1  –  1.5  ลิตร
           การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง  ในรูปของเหงื่อ  เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่  เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง  โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง  ต่อมเหงื่อมี  2  ชนิด คือ
           1.  ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก  มีอยู่ทั่วผิวหนัง ในร่างกาย  ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา  เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ  99  สารอื่นๆ  ร้อยละ 1  ได้แก่  เกลือโซเดียม  และยูเรีย
            2.  ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่  จะอยู่ที่บริเวณ  รักแร้  รอบหัวนม  รอบสะดือ  ช่องหูส่วนนอก  อวัยวะเพศบางส่วน  ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ  สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น  ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ  จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่  ที่เรียกว่า  รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่
            กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย  จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่  โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม  สารอาหารที่มีประโยชน์  ต่อร่างกายได้แก่  น้ำ  แร่ธาตุ  วิตามิน  และกลูโคส  ออกจากกากอาหาร  ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง  จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง  และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก  ที่เรียกว่า  อุจจาระ
การกำจัดของเสียทางปอด
             ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด  จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
               การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณ ของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย  ไต  ตับและลำไส้  เป็นต้น
การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์  เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรค ริดสีดวงทวารหนักได้
               การปัสสาวะ  ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง  ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้น ปัสสาวะไว้นานๆ  จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
              การดื่มน้ำ  การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน  จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น  การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของ เสียอย่างปกติ

ความรู้เบื้องต้น



ชีววิทยา (อังกฤษ: Biology) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต

ความหมาย

ชีววิทยา เป็นการศึกษาในทุกๆแง่มุม (Biological Sciences) ของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก จากคำว่า " Bios "& "Logos" ซึ่งคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos"แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล

ระบบการศึกษา


การศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมและโมเลกุล จัดอยู่ในสาขาวิชาอณูชีววิทยา ชีวเคมี และอณูพันธุศาสตร์ การศึกษาในระดับเซลล์ จัดอยู่ในสาขาวิชาเซลล์วิทยา และในระดับเนื้อเยื่อ จัดอยู่ในสาขาวิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และมิญชวิทยา สาขาวิชาคัพภวิทยาเป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต

 ประเภทสาขา


สาขาวิชาพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สาขาวิชาพฤติกรรมวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ประชากรเป็น การศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิด หนึ่ง และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัย จัดอยู่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาของวิวัฒนาการ

 ปรากฏการณ์ทางชีววิทยา


ปรากฏการณ์ การเปลี่ยนแปลงจากทางธรรมชาติ เกิดจากการความแตกต่างของสภาพพื้นที่ และการใช้ชีวิตของการดำรงชีวิต เช่น นกนางแอ่น ในทะเล กับ นกนางแอ่น บนภาคพื้นที่อยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกันแต่ แตกต่างในการดำรงชีวิตและลักษณะของสภาพร่างกาย เป็นต้น

 หลักของวิชาชีววิทยา


  • หลักทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory). ซึ่ง ทฤษฎีนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ ซึ่งเซลล์ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการทำงานในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ กระบวนการทางกลศาสตร์และทางเคมีต่างก็ล้วนอาศัยเซลล์เป็นตัวขับเคลื่อน กระบวนการเช่นเดียวกัน ทั้งเชื่อว่าเซลล์สามารถเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (perexisting cells) ได้เท่านั้น
  • หลักวิวัฒนาการ (Evolution). เชื่อในการเลือกสรรของธรรมชาติ (natural selection) และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • หลักทฤษฎีพันธุกรรม (Gene Theory). เชื่อว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ถูกเก็บเป็นรหัสสิ่งมีชีวิตใน DNA ในยีนอันเป็นมูลฐานแห่งการถ่ายทอดพันธุกรรม
  • หลักภาวะธำรงดุล (Homeostasis). เป็น หลักที่เชื่อในการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ในการปรับระบบภาวะแวดล้อมทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของระบบภายในสิ่งมีชีวิตให้ เข้ากับระบบภายนอกสิ่งมีชีวิต